วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันจันทร์  ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 
(เวลา 12.30-14.30น.)

*สอบวัดความรู้ในห้อง*



วันพฤหัสบดี ที่ 3 มีนาคม 2559 
(เวลา 14.30-17.30น.)

*ศึกษาค้นคว้าด้วยดัวเอง*




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันจันทร์  ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 
(เวลา 12.30-14.30น.)

*สอบกลางภาค*

วันพฤหัสบดี ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 
(เวลา 14.30-17.30น.)

*สอบกลางภาค*




บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 15 กุมภาพนธ์ 2559
(เวลา 12.30-14.30 )
วัน พฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพนธ์ 2559

 (เวลา 14.30-17.30)




ความรู้ที่ได้รับ
      
       เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป


              






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ในการทำการเรียนการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนากล้ามเนื้อทั้งมัดใหญ่และมัดเล็กควรจัดให้เด็กในทุกๆวัน ตามลำดับความยากง่าย

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน มีความพร้อม และเข้าใจในเนื้อหา 

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนช่วยกันแก้ปัญหา

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีกิจกรรมให้ตอบคำถาม ฝึกสมอง และสอนได้สนุก มีการเตรียมเนื้อหามาอย่างเข้าใจได้ง่าย 



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

 (เวลา 14.30-17.30)




ความรู้ที่ได้รับ

เนื้อหาการเรียนการสอน เรื่อง สมรรถนะทั้ง 7 ด้วยของเด็กปฐมวัย   สมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย  
ตัวอย่าง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว

3 ปี - วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่ต้องกางแขน
5 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่างการมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี - พูดคุยและเล่นกับเพื่อน
4 ปี - ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี - ชวนเพื่อนเล่นด้วยโดยกำหนดสถานที่









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

      การที่เราจะจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้แก่เด็กปฐมวัน เราจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

     ดิฉันตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และมีส่วนร่วมในการตอยคำถาม

ประเมินเพื่อน

      เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนมาเรียนตรงต่อเวลา 

ประเมินอาจารย์

      วันนี้อาจารย์ไม่สบาย แต่อาจารย์ก็สอนเต็มที่มาก นักศึกษาบอกให้อาจารยืพักก่อนแต่อาจารย์ก็เต็มที่ ที่จะสอน 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

 (เวลา 14.30-17.30)






ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนเนื้อหา โดยการพรีเซ้นงานกลุ่มเรื่อง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ





     เสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็เข้าสู่การสอนด้วยการให้ดูวิดีโอที่สะท้อนเกี่ยวกับวัยรุ่นให้ดู คอยแนะนำ คอยเตือนอยู่เสมอและต่อด้วยการบริหารสมองซีกซ้ายและขวาเช่นเคย




       กิจกรรมต่อมา กิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่  โดยรอบแรกอาจารย์ให้เราทำเดี่ยว และรอบที่สองแบ่งกลุ่มให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละ 2 ท่า หน้าชั้นเรียน เพื่อฝึกความกล้าแสดงออกจากนั้นอาจารย์สอนวิธีการพูด การบอกขั้นตอนท่าทาง ในการเคลื่อนไหวให้กับเด็ก การอธิบายให้เด็กฟังนั้นต้องอธิบายให้ชัดเจนและยิ้มแย้มแจ่มใสในการสอนกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่น อยากเรียนสนุกสนาน และให้ทุกคนคิดท่าเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละ 3 ท่า พร้อมคำอธิบายมาแสดงหน้าห้องเรียน








 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


        ทำให้เรารู้ว่าการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เด็กสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการอธิบายและทำท่าทาง และทำตัวอย่างให้เด็กดู ให้เด็กเกิดความน่าสนใจและสนุกสนานกับกิจกรรม  มีส่วนร่วมกับกิจกรรมตลอด และสีหน้าของครูที่ต้องยิ้มแย้มแจ่มใสในการสอนเด็ก  

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

      วันนี้ดิฉันมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆและสนุกกับกิจกรรมของอาจารย์

ประเมินเพื่อน

    เพื่อนๆทุกคนกล้าแสดงออก มีวิธีการพูดที่แตกต่างกันและสนุกสนานในการทำกิจกรรมทำให้เรารู้ด้วยว่าแต่ละคนจะมีอะไรที่แตกต่างกัน

ประเมินอาจารย์

      อาจารย์จะคอยทรอดแทรกเทคนิคต่างๆ และบอกว่าแบบไหนควรและไม่ควรสิ่งใดทำก่อนทำหลัง และร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังคอยอบรมสั่งสอน คอยเตือน คุอยดูแลและเป็นห่วงในเรื่องการใช้ชีวิตในวัยรุ่น





บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559
เวลา 12.30-14.30 น.





ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของการเคลื่อนไหว

          1. การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
           - การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด
           - การเคลืื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ เช่น การดัน การบิดตัว

         2การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
         - การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่
         - การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่

ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

        1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามลำดับ
        2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
        3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
        4. ประเภทจินตนาการตามคำบรรยาย
        5. ปะเภทกิจกรรมฝึกความจำ













 การนำไปประยุกต์ใช้

       ทำให้เรารู้จักประเภทของการเคลื่อนไหวและ การประเมินการเคลื่อนไหวของเด็ก ซึ่งเราสามารถนำ

ไปสอนเด็กได้ และมีท่าบริหารสมอง ที่เราสามารถไปทำตามและจะได้บริหารสมองของเรา


ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ดิฉันตั้งใจเรียนและจดเนื้อหาที่อาจารย์สอน และคอยหาคำตอบที่อาจารย์ถามและยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ตั้งใจสอน มีการยกตัวอย่าง และหากิจกรรมให้ทำ และสนใจนักศึกษา





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 18 ธันวาคม 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2559

 (เวลา 14.30-17.30)




ความรู้ที่ได้รับ

เนื้อหาการเรียนทฤษฎีในวันนี้เกี่ยวกับ รายละเอียดในวิชานี้ และเนื้อหาพื้นฐานในการเคลื่อนไหว ดังนี้
  • ความหมายกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ คือ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระ
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การบิดตัว การก้มตัว การเหยียดตัว การดัน
-การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การกระโดด การสไลด์ 

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ มี 5 องค์ประกอบคือ
-การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
-บริเวณและเนื้อที่
-ระดับการเคลื่อนไหว
-ทิศทางของการเคลื่อนไหว
-การฝึกจังหวะ

      จากนั้นเรามาทำกิจกรรมร่วมกัน วันนี้อาจารย์ให้เราเต้นหน้าห้องเรียนทีละคน จากเพลงที่เลือกและท่าทางประกอบ เพื่อฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น









 
         พอเต้นครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้บริหารสมองซีกซ้ายซีกขวา ซึ่งเพื่อนๆทุกคนเริ่มทำคล้องแล้ว

และเนื้อหาที่เรียนอาจารย์ก็สอนเรื่องการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และเคลื่อนไหวรอบตัวโดยที่มีคุณครูเป็นผู้สั่ง
และจะให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปเลื่อยๆจนกว่าคุณครูจะเคาะจังหวะให้เด็กหยุด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          เราสามารถนำกิจกรรมการเคลื่อนไหวไปประยุกต์ใช้กับเด็กๆ เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกายและมีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดท่าต่างๆ เป็นการฝึกทักษะการฟัง การเคลื่อนไหวถือเป็นการออกกำลังกายได้ด้วย


การประเมินผล

ประเมินตนเอง

         วันนี้ฉันก็ตั้งใจคิดท่าประกอบเพลงมานำเสนออาจารย์และเพื่อนๆและร่วมสนุกกับเพื่อนๆในการเต้น

ประเมินเพื่อน

        วันนี้เพื่อนๆแต่ละคนได้นำเพลงมาเต้นพร้อมท่าประกอบ ทำให้รู้เลยว่าเพื่อนๆขยันซ้อมกันมามากและตั้งใจกับการเรียนมาก

ประเมินอาจารย์

        วันนี้อาจารยืดูเหนื่อยมากเพราะกลุ่มดิฉันเรียนช่วงบ่ายอาจารย์ก็สอนมาหลายกลุ่มแล้ว เพราะวิชานี้เป็นวิชาที่ใช้พลังมาก แต่อาจารย์ก็ตั้งใจสอนและร่วมสนุกกับนักศึกษาดีมากค่ะ